วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

วู้ดดี้ เกิดมาคุย อ.ถวัลย์,อ.กมล ตอน 2

ศิลปินแห่งชาติ


ศิลปินแห่งชาติ

posted on 01 Dec 2007 21:47 by personinhistory

  
                               นายกมล  ทัศนาญชลี

           ศิลปินแห่งชาติ  สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม)
   

                                                                                http://www.era.su.ac.th/.../ArtistPhoto/A000002.jpg     


             นายกมล  ทัศนาญชลี  เกิดเมื่อวันที่  ๑๗  มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๗   ที่กรุงเทพมหานคร เป็นศิลปินคนสำคัญและดีเด่นในด้านจิตรกรรมและสื่อผสมร่วมสมัยของไทยที่ได้รับการยอมรับและยกย่องทั้งในและต่างประเทศ  ปัจจุบันคงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเผยแพร่ศิลปะและอุทิศตนให้กับงานการกุศล  ดำรงและดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า  มีคุณสมบัติเพียบพร้อมในความเป็นศิลปินที่ดีงาม เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี  จึงรับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ 

เป็นศิลปินที่อุทิศตนให้กับการสร้างสรรค์ศิลปะอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน  ได้รับพัฒนาผลงานศิลปะร่วมสมัยตลอดเวลา  จนเป็นที่ยอมรับว่า เป็นผู้นำคนสำคัญของวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย  มีผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ของตนในแนวทางสากลที่มีพื้นฐานจากศิลปะแบบประเพณีไทยในอดีต  นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญยิ่งในเรื่องการเผยแพร่ผลงานศิลปะไทยทั้งในและต่างประเทศ  สนับสนุนและส่งเสริมศิลปินและนักวิชาการศิลปะของไทยในเรื่องการศึกษาและหาประสบการณ์

           เป็นผู้ดำเนินการศูนย์ศิลปกรรมไทยและสภาศิลปกรรมไทย  เพื่อการเผยแพร่ศิลปะไทยในสหรัฐอเมริกา  ให้บริการสังคมด้วยศิลปะและวิชาการเป็นอย่างดี  ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ เป็นวิทยาทานแก่สถาบันการศึกษาวิชาศิลปะทั่วประเทศและในต่างประเทศ      



                              นายฉัตรชัย  วิเศษสุวรรณภูมิ
                                ศิลปินแห่งชาติ  สาขาวรรณศิลป์ 

    
     


                 นายฉัตรชัย  วิเศษสุวรรณภูมิ  นามปากกา พนมเทียน  เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๔   ที่จังหวัดปัตตานี  เป็นนักเขียนผู้สร้างสรรค์ผลงานทางวรรณศิลป์ที่ทรงคุณค่าไว้อย่างมากมายและต่อเนื่องมาเกือบ ๕ ทศวรรษ 
            
             ผลงานของเขาเป็นที่แพร่หลายและเป็นที่นิยมของผู้อ่านตลอดมา  โดยเฉพาะนวนิยาย ซึ่งมีจำนวนถึง ๓๘ เรื่อง  หลายเรื่อง เช่น จุฬาตรีคุณ  เล็บครุฑ  เพชรพระอุมา  และ  ศิวาราตรี  มีความโดดเด่นเฉพาะตัว  อย่างที่จะหานักเขียนแนวเดียวกันมาเทียบเคียงได้ยาก พนมเทียน  เป็นนักฝัน  เขาถึงสามารถใช้จินตนาการสร้างสรรค์ผลงานโดยมีความรอบรู้ และประสบการณ์อันหลากหลายเป็นพื้นฐาน  งานของเขาจึงมีหลายประเภทหลายแนว  คือ  มีทั้งประเภทจินตนิยาย อาชญนิยาย นวนิยายแนวสืบสวนสอบสวน แนวผจญภัย แนวพาฝัน ตลอดจนแนวสาระนิยาย   คุณลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของเขา คือ การใช้ภาษาด้วยลิลาอันงดงามและให้ภาพที่คมชัด  งานของเขาจึงส่งผลสืบเนื่องไปถึงการสร้างงานศิลปะแขนงอื่น  เช่น  ละครวิทยุ ละครเวที ตลอดจนเพลงประกอบละครเวที  โดยเฉพาะเรื่อง  จุฬาตรีคูณ  นั้น  เป็นที่นิยมกันมาตลอด 5 ทศวรรษ  นอกจากเรื่อง จุฬาตรีคูณ  จินตนิยายเรื่อง ศิวาราตรี  ของ  พนมเทียน  ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ สกลวรรณ นำ ศิวาราตรี มาเขียนเป็นร้อยกรองยาวกว่า ๓๐,๐๐๐ คำกลอน  โดยอาศัยความงามแห่งภาษาร้อยแก้วของ พนมเทียน เป็นพื้นฐาน 

           งานเขียนของพนมเทียน มิได้เพียงแต่พาผู้อ่านเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการที่มีแต่ความบันเทิงใจ  หากอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์  จะเห็นได้ว่าผู้เขียนยึดถือหลักการมนุษยธรรมอย่างมั่นคง เขาเห็นว่าโลกและชีวิตดำรงอยู่ด้วยมนุษยธรรม สันติภาพและภารดรภาพ อันเป็นอุดมการณ์ของมนุษยชาติ ผลงานของเขาจึงให้ทั้งความสำเริงอารมณ์และคุณค่าแห่งสาระที่แฝงอยู่เบื้องลึก  พนมเทียน ได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีวรรณศิลป์และมีคุณค่าประทับใจผู้อ่าน ต่างรุ่น ต่างวัย และต่างสถานภาพ มาเป็นเวลายาวนานกว่าเกือบครึ่งศตวรรษ


            นายฉัตรชัย  วิเศษสุวรรณภูมิ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๐   




10 สุดยอดสถาปัตยกรรมจีน

10 สุดยอดสถาปัตยกรรมจีน



10 สุดยอดสถาปัตยกรรมจีน ต้อนรับโอลิมปิค 2008

1. สนามบินนานาชาติปักกิ่ง

             
 

            สนามบินโฉมใหม่ที่มีขนาดกว่า 1 ล้านตารางเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเพนตากอนของสหรัฐอเมริกานี้ เป็นฝีมือของผู้ออกแบบสนามบินเช็กแลพก๊อกของฮ่องกงด้วย นั่นคือ Foster & Partners สถาปนิกนักเดินทาง ที่เข้าถึงจิตใจผู้โดยสาร ด้วยการออกแบบทางเดินแต่ละส่วนให้สั้นที่สุด ฟอสเตอร์ ได้แบ่งอาคารที่กว้างขว้างใหญ่โตของสนามบินนานาชาติปักกิ่งออกเป็น 2 ข้าง ทอดตัวจากทิศใต้ไปสู่ทิศตะวันออก เพื่อช่วยลดไอร้อนจากแสงอาทิตย์ แต่ติดสกายไลท์ให้แสงแดดละมุนละไมได้ฉายส่องเข้ามา พร้อมทั้งใช้นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนภายในตัวอาคาร กำหนดสร้างเสร็จปี 2007

            นอกจากนี้ จีนยังมีแผนที่จะสร้างสนามบินใหม่ถึง 108 แห่งระหว่างปี 2004-2009 ซึ่งรวมทั้งสนามบินนานาชาติปักกิ่งแห่งนี้ ที่จะเปิดให้บริการปลายปี 2007 เพื่อต้อนรับโอลิมปิก 2008 โดยจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 43 ล้านคนในปีแรก และเพิ่มเป็น 55 ล้านคนในปี 2015

2. เดอะคอมมูน – กรุงปักกิ่ง

            

            เดอะคอมมูน (The Commune) เกิดขึ้นตามความตั้งใจของคู่รักนักพัฒนาเรียลเอสเตท จางซิน และพานซื่ออี๋ ที่ลงทุนควักกระเป๋าให้นักสถาปัตย์ชั้นนำชาวเอเชีย 12 คน คนละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเนรมิตเฮาส์คอมเพล็กซ์หรูที่มีกลิ่นอายกำแพงเมืองจีนขึ้น

            ปัจจุบัน เดอะคอมมูน เปิดให้บริการแล้วในส่วนที่เป็นโฮเทลบูติค ภายใต้การบริหารของเครือโรงแรมเคมปินสกี้ จากเยอรมนี ซึ่งยังมีโครงการส่วนต่อขยายเพิ่มเติมอีก เฟสแรกสร้างเสร็จเมื่อ 2002 และทั้งโครงการจะเสร็จสิ้นในปี 2010

3. ศูนย์กลางการเงินของโลกที่เซี่ยงไฮ้

            
            ศูนย์กลางการเงินแห่งใหม่ของโลก กำลังจะอุบัติขึ้นที่มหานครเซี่ยงไฮ้ ที่เขตการเงินหลู่เจียจุ้ย ในเขตผู่ตง ในรูปโฉมของตึกกระจกสูงเสียดฟ้า 101 ชั้น

            Kohn Pedersen Fox Architects ผู้ออกแบบเล่าว่า การสร้างให้ตึกต้านทานแรงลมได้ ถือเป็นความท้าทายของงานนี้ ในที่สุด จึงได้ออกแบบให้ยอดตึกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมเจาะช่องตรงชั้นที่ 100 ซึ่งนอกจากจะปรับเป็นจุดชมวิวที่สูงที่สุดในโลกแล้ว ยังสามารถบรรเทาแรงลม ลดการแกว่งตัวไปมาของตัวตึกได้ด้วย กำหนดสร้างเสร็จปี 2008

4. สระว่ายน้ำแห่งชาตินครปักกิ่ง

            

            สระว่ายน้ำแห่งชาตินี้ สร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 โดยมีรูปลักษณ์เหนือจินตนาการคล้าย “ก้อนน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่” ซึ่ง PTW and Ove Arup ออกแบบโดยใช้วัสดุเทฟลอนทำเป็นโครงร่าง เน้นใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยจะนำมาใช้เดินเครื่องกรองน้ำเสียของสระน้ำที่ใช้เติมในสระจะถูกกักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ฝั่งไว้ใต้ดิน นอกจากนั้น เพื่อให้ดูเหมือนน้ำที่สุด สถาปนิกยังใช้เทคโนโลยีจากงานวิจัยของนักฟิสิกส์จาก Dublin’s Trinity College ที่สามารถทำให้กำแพงอาคารดูเหมือนฟองน้ำที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนอกจากจะทำสระว่ายน้ำแห่งแดนมังกรนี้ดูดีเป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังสามารถต้านทานกับแรงสั่นสะเทือนอันเกิดจากแผ่นดินไหวได้ด้วย กำหนดเสร็จปี 2008

5. สถานีโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งชาติ (CCTV) – นครปักกิ่ง

            

            อาคารสำนักงานใหญ่ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี มีรูปลักษณ์ที่แหวกแนวไปจากตึกระฟ้าทั่วไป โดยเกิดจากสองอาคารที่ตั้งมุมฉากต่อเข้าหากัน มองดูเหมือนอุโมงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยกระจายแรงลมที่ปะทะกับตึกได้เป็นอย่างดี ตึกใหม่นี้ออกแบบโดย Rem Koolhass และ Ole Scheeren ส่วนวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้างคือ Ove Arup กำหนดสร้างเสร็จปี 2008

6. Linked Hybid – นครปักกิ่ง

            

            สถาปัตยกรรมแห่งที่อยู่อาศัยสมัยใหม่ Linked Hybid เป็นที่ตั้งของบ้าน 2,500 หลัง อพาร์ทเม้นท์ 700 ห้อง บนเนื้อที่ขนาด 1.6 ล้านตารางฟุต ถือเป็นตึกใหญ่สุดในโลกที่มีใช้ระบบชีวภาพในการทำความเย็นและให้ความอุ่น เพื่อรักษาอากาศทั้ง 8 ตึกให้คงที่ ในชั้นที่ 20 สร้างเป็นวงแหวน ‘บริการ’ ที่เชื่อมต่อกันทุกตึก ครบครันด้วยบริการต่างๆ ทั้งซักผ้ายันร้านกาแฟ

            Steven Holl และ Li Hu ยังออกแบบให้ ฝั่งท่อน้ำสองสายลึกลงไปใต้ดิน 100 เมตร สำหรับให้น้ำไหลเวียน ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องกระจายความร้อน และเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ ที่ไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าทำน้ำเดือดหรือแอร์ทำความเย็น ขณะเดียวกัน ยังมีระบบบำบัดน้ำเสีย ที่จะรวบรวมน้ำจากห้องครัวและอ่างน้ำทั่วอาคาร มาหมุนเวียนใช้ใหม่ในห้องส้วมกำหนดสร้างเสร็จปี 2008

7. เมืองเศรษฐกิจตงถัน – เจียงซู

            

            เมืองเศรษฐกิจแห่งใหม่ของแดนมังกรอยู่ระหว่างวางแผน คาดว่าเฟสแรกจะเสร็จปี 2010 ออกแบบและพัฒนาโดย ซ่างไห่ อินตัสเทรียล คอร์ป ที่คาดว่าจะมีขนาดเทียบเท่ากับเกาแมนฮัตตัน ตั้งอยู่บนเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน กลางลำน้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ใกล้กับมหานครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2040

            อย่างไรก็ตาม เฟสแรกของโครงการนี้ จะเรียบร้อยก่อนที่งานเอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้จะเปิดฉากขึ้นในปี 2010 ซึ่งจะมีประชากรราว 50,000 คน เข้าอยู่อาศัยที่นี้ จากนั้นอีก 5 ปี ระบบพิเศษต่างๆ จะเริ่มใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็น ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบจัดการน้ำเสีย และการหมุนเวียนพลังงานมาใช้ใหม่ พร้อมด้วยถนนสายใหญ่ที่จะเชื่อตรงสู่นครเซี่ยงไฮ้อย่างสะดวกสบาย

8. สนามกีฬาโอลิมปิก - นครปักกิ่ง

            

            สนามกีฬาหลายแห่งในโลก ออกแบบโดยเดินตามรอยสนามกีฬาชื่อดังของโลก โคลิเซี่ยมแห่งโรม แต่สนามกีฬานานาชาติของ Herzog & de Meuron ในปักกิ่งนี้พยายามที่จะคิดออกแบบใหม่ให้เอื้ออำนวยต่อสิ่งแวดล้อมปัจจุบันมากขึ้น
สถาปนิกจากสวิสเซอร์แลนด์ Herzog & de Meuron ต้องการที่จะช่องระบายอากาศตามธรรมชาติ ในสนามกีฬาโครงสร้าง 91,000 ที่นั่ง อาจถือได้ว่า เป็นสนามกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้

            สนามกีฬาดังกล่าวซึ่งมีกำหนดเสร็จปี 2008 จะเป็นที่ซึ่งใช้จัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขันโอลิมปิก 2008 มีลักษณะภายนอกคล้ายกับ "รังนก" ที่มีโครงตาข่ายเหล็กสีเทาๆเหมือนกิ่งไม้ ห่อหุ้มเพดานและผนังอาคารที่ทำด้วยวัสดุโปร่งใส อัฒจันทร์มีลักษณะรูปทรงชามสีแดง ซึ่งดูคล้ายกับพระราชวังต้องห้ามของจีน ภาพโครงสร้างของสนามกีฬาแห่งนี้ จึงดูคล้ายพระราชวังสีแดง ที่อยู่ภายในรั้วกำแพงสีเทาเขียว ซึ่งให้กลิ่นอายงดงามแบบตะวันออก สำหรับบันไดภายในสนามกีฬาถูกสร้างให้กลมกลืนกับโครงตาข่าย ซึ่งให้ภาพลักษณ์ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเอกภาพ

9. สะพานตงไห่ – เชื่อมเซี่ยงไฮ้ กับ เกาะหยังซัน

            

            สะพานข้ามทะเลแห่งแรกของจีน ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อเดือนธันวาคมปี 2005 สะพานดังกล่าวเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง ใช้เงินลงทุนราว 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนโครงสร้างหลักมีความยาว 32.5 กิโลเมตร กว้าง 31.5 เมตร มีทางรถวิ่ง 6 เลน และเพื่อความปลอดภัยในการรับมือกับพายุไต้ฝุ่นและคลื่นลมแรง สะพานตงไห่ถูกออกแบบให้เป็นรูปตัวเอส (S) เชื่อมจากอ่าวหลู่หูในเขตหนันฮุ่ยเมืองเซี่ยงไฮ้ ข้ามอ่าวหังโจว ไปยังเกาะเสี่ยวหยังซันในมณฑลเจ้อเจียง ที่ได้วางแผนไว้ให้เป็นท่าเรือการค้าเสรีแห่งแรกของจีน (และจะเป็นท่าคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก) ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2010

10. โรงละครแห่งชาตินครปักกิ่ง
            
            ตั้งอยู่กลางนครปักกิ่ง ใกล้กับจัตุรัสเทียนอันเหมิน มีเนื้อที่ 490,485 ตารางฟุต มีกำหนดเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี 2008 โครงสร้างภายนอกประกอบขึ้นจากกระจกผสมไทเทเนี่ยม ดูคล้ายกับทะเลสาบ

ข้อมูลจาก :  Forward Mail

สถาปัตยกรรมกอธิค

สถาปัตยกรรมกอธิค (อังกฤษGothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองระหว่างยุคกลางตอนกลางและยุคกลางตอนปลายที่วิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอธิคเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังอังกฤษ และต่อไปยังยุโรปโดยทั่วไป
สถาปัตยกรรมกอธิคเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอธิค" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอธิคที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก
สถาปัตยกรรมกอธิคเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างมหาวิหารแอบบี และ คริสต์ศาสนสถานอื่นๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาทวังตึกเทศบาลเมืองมหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอธิคที่ใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอธิคเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก
ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอธิค ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคดำเนินต่อมาจนถึง คริสต์ศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมกอธิคพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ผนังครีบลอย ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอธิคจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น
ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]คำว่า "กอธิค"

คำว่า "กอธิค" เมื่อกล่าวถึงสถาปัตยกรรมมิได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับชาวกอธในประวัติศาสตร์ แต่เป็นคำที่เป็นเชิงดูหมิ่นถึงลักษณะสถาปัตยกรรม ที่นำมาใช้ราวคริสต์ทศวรรษ 1530 โดยจอร์โจ วาซารีในการบรรยายวัฒนธรรมที่ถือว่าหยาบและป่าเถื่อน[1] ในสมัยที่วาซารีเขียนอิตาลีกำลังอยู่ในสมัยของความรุ่งเรืองทางสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกที่ถือกันว่าเป็นสถาปัตยกรรมชั้นสูง ในที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งถือว่าเป็นจุดสูงสุดทางสถาปัตยกรรมและเป็นยุคทองแห่งการแสวงหาความรู้
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาที่ในที่สุดก็เผยแพร่ไปทั่วยุโรปที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะต่างๆ ของวัฒนธรรมก่อนหน้าการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ เน้นความสนใจในทางศาสนา และมีความเห็นว่าสมัยก่อนหน้านั้นเป็นสมัยของความงมงายและความขาดความรู้ ซึ่งเป็นที่มาของบทเขียนของฟรองซัวส์ ราเบอเลส์ (François Rabelais) นักเขียนชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ใน "Gargantua and Pantagruel" ซึ่งเป็นนวนิยายที่กล่าวถึงแอบบีเทเลเม ที่บนประตูทางเข้ามีคำจารึกว่า "เทวสถานนี้ไม่อนุญาตสำหรับผู้เสรแสร้ง, ผู้ลำเอียง..." ที่เป็นนัยยะถึง "กอธ" และ "และออสโตรกอธ" ที่ถือว่าเป็นคนป่าเถื่อนเข้า[2]
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 การใช้คำว่า "กอธ" ในอังกฤษเท่ากับการใช้คำว่า "แวนดัล" ซึ่งเป็นกลุ่มชนเชื้อสายเจอร์มานิคผู้นิยมการทำลายทรัพย์สินและสิ่งของ และกลายมาเป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมของทางตอนเหนือของยุโรปก่อนที่จะมาฟื้นฟูลักษณะสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกกันขึ้น
จากข้อเขียนในจดหมายที่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในนิตยสาร Notes and Queries ในลอนดอนกล่าวว่า:
ไม่เป็นสิ่งที่ต้องสงสัยเลยว่าคำว่า "กอธิค" เป็นคำที่ใช้บรรยายลักษณะการก่อสร้างศาสนสถานในเชิงดูหมิ่น โดยผู้ที่มีความทเยอทยานในการเลียนแบบและฟื้นฟูสถาปัตยกรรมแบบกรีก หลังจากการฟื้นฟูวรรณกรรมคลาสสิกแล้ว นอกจากนั้นผู้มีอิทธิพลเช่นคริสโตเฟอร์ เร็นก็ยังมีส่วนช่วยในการลดคุณค่าของลักษณะสถาปัตยกรรมของยุคกลาง ซึ่งทำให้คำว่ากอธิคมามีความหมายเช่นเดียวกับทุกสิ่งทุกอย่างที่หยาบและป่าเถื่อน
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1710 สถาบันสถาปัตยกรรมก็ประชุมกันในปารีส ในบรรดาหัวข้อที่ถกเถียงกันที่เป็นที่สังเกตของที่ประชุมคือแนวโน้มของความนิยมในการใช้โค้งนูนโค้งเว้า "ในการก่อสร้างส่วนที่ปกคลุมตอนปลายของปล่องไฟ ซึ่งเป็นลักษณะที่คณะที่ประชุมไม่เห็นด้วยและถือว่าเป็นแบบที่ไม่สมบูรณ์ และเป็นลักษณะที่ออกไปทางกอธิค"[5]

[แก้]อิทธิพลต่างๆ ที่มีต่อลักษณะสถาปัตยกรรม

[แก้]ภูมิภาค

ในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 12]] ยุโรปก็แบ่งออกเป็นนครรัฐและราชอาณาจักรต่างๆ บริเวณที่รวมทั้งในปัจจุบันที่เป็นเยอรมนีเนเธอรแลนด์เบลเยียมลักเซมเบิร์กสวิตเซอร์แลนด์ออสเตรีย, ทางตะวันออกของฝรั่งเศส และส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของอิตาลียกเว้นเวนิสก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และประมุขของท้องถิ่นก็ยังคงมีอำนาจพอสมควร ฝรั่งเศส สกอตแลนด์ สเปน และ ซิซิลี ต่างก็เป็นราชอาณาจักรอิสระ รวมทั้งอังกฤษที่ปกครองโดยกษัตริย์แพลนทาเจเน็ทผู้ปกครองดินแดนส่วนใหญ่ในฝรั่งเศสในขณะเดียวกันด้วย.[6] นอร์เวย์มาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอังกฤษ ขณะที่ประเทศสแกนดิเนเวียอื่นๆ และโปแลนด์อยู่ภายใต้อิทธิพลของเยอรมนี กษัตริย์อองชูเป็นผู้นำวัฒธรรมกอธิคไปเผยแพร่ยังอิตาลีใต้
ยุโรปโดยทั่วไปในช่วงนั้นอยู่ในระหว่างความรุ่งเรืองทางการค้าที่เป็นผลมาจากความเจริญของเมืองต่างๆ[7][8] เยอรมนีและกลุ่มประเทศต่ำมีเมืองใหญ่ๆ หลายเมืองที่รุ่งเรืองมั่งคั่งที่แข่งขันกันอย่างสันติ และบางกลุ่มก็มารวมตัวกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันเช่นกลุ่มสันนิบาตฮันเซียติก การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างสำคัญที่เป็นของเมืองก็กลายมาเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาของเมือง แต่ทางอังกฤษและฝรั่งเศสยังคงอยู่ในระบบการปกครองแบบศักดินาซึ่งทำให้สถาปัตยกรรมยังเป็นการเน้นการก่อสร้างสำหรับผู้ครองอาณาจักร แทนที่จะเป็นตึกเทศบาลเมืองหรือสิ่งก่อสร้างที่เป็นของประชาชนผู้มั่งคั่งในเมือง

[แก้]วัสดุ


ภายในวิหารของบาดโดเบอรันในเยอรมนีที่ใช้อิฐอันมีสีสัน, ค.ศ. 1386
ปัจจัยอื่นที่เป็นอิทธิพลของท้องถิ่นก็คือวัสดุก่อสร้าง ในฝรั่งเศสหินปูนเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยทั่วไปหลายระดับ ตั้งแต่ชนิดที่ละเอียดในบริเวณคอง (Caen) ที่เป็นที่นิยมของประติมากรในการใช้แกะสลัก อังกฤษมีหินปูนแต่หยาบกว่า และหินทรายสีแดง และ หินอ่อนเพอร์เบ็คสีเขียวคร่ำที่มักจะใช้ในการตกแต่ง
ทางตอนเหนือของเยอรมนี, เนเธอรแลนด์, สแกนดิเนเวีย, ประเทศในบอลติค และ ทางตอนเหนือของโปแลนด์ก็มีหินแต่การก่อสร้างนิยมการใช้อิฐซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมกอธิคอิฐ (Backsteingotik) และมักจะเป็นนัยยะถึงกลุ่มสันนิบาตฮันเซียติก
ในอิตาลีหินใช้ในการก่อสร้างป้อมปราการ แต่อิฐเป็นที่นิยมในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอื่นๆ นอกจากนั้นอิตาลีก็ยังมีหินอ่อนเป็นจำนวนมากและหลายแบบ ด้านหน้าของสิ่งก่อสร้างจึงมักจะทำด้วยหินอ่อนบนด้านในที่เป็นอิฐ ฉะนั้นบางครั้งจึงพบสิ่งก่อสร้างที่ยังสร้างไม่เสร็จที่ด้านหน้ายังคงเป็นอิฐที่รอการต่อเติมให้เป็นหินอ่อนในเวลาต่อมา
การใช้ไม้ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรม เช่นในการก่อสร้างเพดานที่ใช้คานแฮมเมอร์ (hammer-beam) อันวิจิตรของอังกฤษเป็นการก่อสร้างที่มีผลมาจากการขาดไม้ที่ตรงและยาวในตอนปลายของยุคกลาง เมื่อป่าถูกถางไปสร้างเรือและเพดานขนาดใหญ่[7][9]

[แก้]ศาสนา

ในสมัยยุคกลางตอนต้นยุคกลางตอนต้นเป็นสมัยของความรุ่งเรืองของสำนักสงฆ์นิกายต่างๆ ที่ได้รับการก่อตั้งขึ้นและแพร่ขยายไปทั่วยุโรป ลัทธิที่นำหน้ากว่าลัทธิอื่นคือลัทธิเบ็นนาดิคตินผู้สร้างแอบบีขนาดใหญ่มากมายกว่าลัทธิอื่นใดในอังกฤษ ลัทธิเบ็นนาดิคตินมักจะสร้างแอบบีภายในตัวเมือง ไม่เหมือนกับลัทธิซิสเตอร์เชียนที่มักจะสร้างในชนบท ลัทธิซิสเตอร์เชียนและลัทธิคลูนีจะเป็นลัทธิที่แพร่หลายในฝรั่งเศส สำนักสงฆ์ที่คลูนีสร้างกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นสำนักสงฆ์ที่เป็นระเบียบแบบแผนที่กลายมามีอิทธิพลต่อการก่อสร้างกลุ่มสิ่งก่อสร้างสำหรับสำนักสงฆ์เป็นเวลาหลายร้อยปีต่อมา
ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 นักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซิก็ตั้งลัทธิฟรานซิสกัน หรือที่เรียกว่า "พระเทา" (Grey Friars) สาขาที่แยกออกมาลัทธิโดมินิกันที่ก่อตั้งโดยนักบุญโดเมนิโคในตูลูส และ โบโลนยามีอิทธิพลต่อการก่อสร้างสถาปัตยกรรมกอธิคในอิตาลี[7][8]

[แก้]สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมกอธิควิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ก่อนหน้านั้น ส่วนใหญ่แล้วการเปลี่ยนแปลงมิใช่การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เช่นที่เกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของฟลอเรนซ์ไปเป็นสถาปัตยกรรมคลาสสิกโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกีเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15

[แก้]สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

ดูบทความหลักที่ สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์
สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ หรือ สถาปัตยกรรมนอร์มันที่เป็นคำที่ใช้ในอังกฤษเพราะความสัมพันธ์กับการรุกรานของนอร์มันเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่วางรากฐานของรูปทรงพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมที่ค่อยมาเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตลอดสมัยกลาง โครงสร้างพื้นฐานของมหาวิหารวัดประจำท้องถิ่นสำนักสงฆ์ปราสาทวังโถงใหญ่ (great hall) และ เรือนเฝ้าประตูต่างก็ได้รับการวางรากฐานไว้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับการสร้างเพดานโค้งสัน, กำแพงครีบ, เสากลุ่ม (clustered columns), ยอดแหลม (spires), ประตูแกะสลัก[10]
ความเปลี่ยนแปลงสิ่งเดียวที่มีความสำคัญต่อการแยกระหว่างลักษณะของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์กับกอธิคคือการการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ผนังอันหนาเทอะทะที่มีช่องเปิดแคบๆ เป็นระยะๆ ไปเป็นลักษณะของสิ่งก่อสร้างที่เต็มไปด้วยแสง ที่ใช้ลักษณะเด่นของเพดานโค้งแหลม การใช้เพดานโค้งแหลมทำให้เกิดการพัฒนาวิธีการก่อสร้างหลายอย่างที่ได้ทำการทดลองกันตามที่ต่างจนเมื่อประสบผลสำเร็จแล้วจึงได้ทำการเผยแพร่ให้ใช้ได้โดยทั่วไป การพัฒนาก็เพื่อการตอบสนองความต้องการทางโครงร่าง, ความงดงาม และความต้องการทางปรัชญา ความเปลี่ยนแปลงก็รวมทั้งกำแพงปีกนก, ยอดแหลมรายบนหลังคา, หน้าต่างตกแต่งด้วยซี่หินเป็นลวดลาย[7]

[แก้]อิทธิพลจากตะวันออก

การสร้างเพดานแบบที่เรียกว่า 'pitched brick' ที่สามารถสร้างได้โดยไม่ต้องมีศูนย์กลางรับอาจจะทำมาตั้งแต่สมัยตะวันออกใกล้โบราณมาจนถึงสองร้อยปีก่อนคริสต์ศักราช[11] ตัวอย่างที่เก่าที่สุดของโค้งแหลมที่ทำด้วยปูนพบในสมัยสถาปัตยกรรมของปลายโรมัน และจักรวรรดิซาสซานิยะห์ โดยเฉพาะในการสร้างคริสต์ศาสนสถานในสมัยแรกในซีเรีย และเมโสโปเตเมีย แต่บางครั้งก็พบในสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่สิ่งก่อสร้างทางศาสนาด้วยเช่นสะพานคารามาการา.[12] หลังจากการพิชิตดินแดนของมุสลิมในคริสต์ศตวรรษที่ 7 การก่อสร้างลักษณะนี้ก็กลายมาเป็นลักษณะมาตรฐานของสถาปัตยกรรมอิสลาม[7]
ความเห็นของทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าการเพิ่มการเกี่ยวข้องกันทางทหารและทางวัฒนธรรม ที่รวมทั้งนอร์มันได้รับชัยชนะ (Norman conquest of southern Italy) ต่อซิซิลีของอิสลามในปี ค.ศ. 1090, สงครามครูเสดที่เริ่มในปี ค.ศ. 1096 และอิสลามในสเปน นำมาซึ่งความรู้ของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญมายังยุโรปยุคกลาง[13]
อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าเชื่อกันว่าโค้งแหลมวิวัฒนาการขึ้นตามธรรมชาติในยุโรปตะวันตกเพื่อเป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้าง พร้อมกับการเริ่มใช้ลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ในคริสต์ศาสนสถานในฝรั่งเศสและอังกฤษ[13]

[แก้]ดูเพิ่ม

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ Banister Fletcher quotes Vasari as using this term.
  2. ^ "Gotz" is rendered as "Huns" in Thomas Urquhart's English translation.
  3. ^ Notes and Queries, No. 9. December 29, 1849
  4. ^ Christopher Wren, 17th-century architect of St. Paul's Cathedral.
  5. ^ "pour terminer le haut de leurs ouvertures. La Compagnie a désapprové plusieurs de ces nouvelles manières, qui sont défectueuses et qui tiennent la plupart du gothique." Quoted in Fiske Kimball, The Creation of the Rococo, 1943, p 66.
  6. ^ "L'art Gothique", section: "L'architecture Gothique en Angleterre" by Ute Engel: L'Angleterre fut l'une des premieres régions à adopter, dans la deuxième moitié du XIIeme siècle, la nouvelle architecture gothique née en France. Les relations historiques entre les deux pays jouèrent un rôle prépondérant: en 1154, Henri II (1154–1189), de la dynastie Française des Plantagenêt, accéda au thrône d'Angleterre." (England was one of the first regions to adopt, during the first half of the 12th century, the new gothic architecture born in France. Historic relationships between the two countries played a determining role: in 1154, Henry II (1154–1189), of the French Plantagenet dynasty, assended to the throne of England).
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Banister Fletcher, A History of Architecture on the Comparative Method.
  8. 8.0 8.1 John Harvey, The Gothic World
  9. ^ Alec Clifton-Taylor, The Cathedrals of England
  10. ^ Nikolaus Pevsner, An Outline of European Architecture.
  11. ^ Leick, Gwendoly: A Dictionary of Ancient Near Eastern Architecture, "Vault", London 2003, pp. 238–240 ISBN 0-203-04107-0
  12. ^ Warren, John (1991), "Creswell's Use of the Theory of Dating by the Acuteness of the Pointed Arches in Early Muslim Architecture", Muqarnas 8: 59–65 (61–63)
  13. 13.0 13.1 Scott, Robert A.: The Gothic enterprise: a guide to understanding the Medieval cathedral, Berkeley 2003, University of California Press, p. 113 ISBN 0-520-23177-5
  • ผุสดี ทิพทัส, หลักเบื้องต้นในการจัดองค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรม,สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช,2530