วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

คุณค่าทางศิลปะ

    ศิลปะคือความงาม
     เมื่อเราพูดถึง ศิลปะ เรามักจะหมายถึง ความงาม แต่ความงามในที่นี้เป็นเรื่องของคุณค่า (Value) ที่
 เป็นคุณค่าทางสุนทรียะ  แตกต่างจากคุณค่าทางเศรษฐกิจ ที่เป็นราคาของวัตถุ  แต่เป็นคุณค่าต่อจิตใจ
 ความงามเกิดขึ้นด้วยอารมณ์ มิใช่ด้วยเหตุผล   ความคิด หรือข้อเท็จจริง  คนที่เคร่งครัดต่อเหตุผลหรือ
 เพ่งเล็งไปที่คุณค่าทางวัตถุจะไม่เห็นความงาม  คนที่มีอารมณ์ละเอียดอ่อนไหว จะสัมผัสความงามได้
 ง่ายและรับได้มาก   ความงามให้ความยินดี ให้ความพอใจได้ทันทีโดยไม่ต้องมีเหตุผล  ความยินดีนั้น
 เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับ  ความงามนั้นเกี่ยวข้องกับวัตถุก็จริง  แต่มิได้เริ่มที่วัตถุ  มันเริ่มที่อารมณ์
 ของคน ดังนั้น ความงามจึงเป็นอารมณ์  เป็นสุขารมณ์หรือเป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความสุน  เป็น1 ใน
 3  สิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขกับมนุษย์ ซึ่งได้แก่  ความดี  ความงาม  และความจริง ผู้ที่ยอมรับและเห็นใน
 คุณค่าของทั้งสามสิ่งนี้ จะเป็นผู้มีความสุข   เนื่องจากความงามเป็นอารมณ์   เป็นสิ่งที่อยู่ในความรู้สึก
 นึกคิด ความงามจึงเป็นนามธรรม  ดังนั้น  การสร้างสรรค์งานศิลปะ  ก็เป็นการถ่ายทอดความงามผ่าน
 สื่อวัสดุต่าง ๆ ออกมา เพื่อให้ผู้อื่นได้สัมผัส ได้พบเห็น  ได้รับรู้    สื่อต่าง ๆ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ชม
 เกิดอารมณ์ทางความงามที่แตกต่างกันตามค่านิยมของแต่ละบุคคล   ความงามไม่ใช่ศิลปะ เนื่องจากว่า
 ความงามไม่จำเป็นต้องเกิดจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ในธรรมชาติก็มีความงามเช่นกัน เช่น  บรรยากาศ
 ขณะที่พระอาทิตย์ขึ้น หรือตกดิน  ความสวยงามสดชื่นของดอกไม้  ทิวทัศน์ธรรมชาติต่าง ๆ   เป็นต้น
 งานศิลปะที่ดีจะให้ความพึงพอใจในความงามแก่ผู้ชมในขั้นแรก      และจะให้ความสะเทือนใจที่คลี่
 คลายกว้างขวางยิ่งขึ้นด้วยอารมณ์ทางสุนทรียะของผลงานศิลปะนั้นในขั้นต่อไป     ความงามในงาน
 ศิลปะออกเป็น 2 ประเภท คือ
   
   1 ความงามทางกาย (Physical Beauty)
เป็นความงามของรูปทรง
     ที่กำหนดเรื่องราว หรือเกิดจากการ
 ประสานกลมกลืนกัน
     ของทัศนธาตุ เป็นผลจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ
   2  ความงามทางใจ (Moral  Beauty) ได้แก่ ความรู้สึก หรืออารมณ์
      ที่แสดงออกมาจากงานศิลปะหรือ
ที่ผู้ชมสัมผัสได้จาก
      งานศิลปะนั้น ๆ
     ในงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ๆ มีความงามทั้ง 2 ประเภทอยู่ร่วมกัน  
แต่อาจแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง
 มากน้อยขึ้นอยู่กับประเภท
  ของงาน  เจตนาของผู้สร้างและการรับรู้ของผู้ชมด้วย 
   
       ความงามในศิลปะ
เป็นการสร้างสรรค์ล้วน ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับความงามวัตถุในธรรมชาติ  เป็นความงามที่แสดงออกได้
 แม้ในสิ่งที่น่าเกลียด  หัวข้อ  เรื่องราว   หรือเนื้อหาที่ใช้สร้างงานนั้นอาจน่าเกลียด   แต่เมื่อเสร็จแล้ว
 ก็ยังปรากฎความงาม
  ที่เกิดจากอารมณ์ที่ศิลปินแสดงออก   ดังนั้น ความงามจึงเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง
 ที่ว่าด้วยความงามที่ศิลปินแสดงออกในงาน
  ศิลปะ ซึ่งเรียกว่า  "สุนทรียศาสตร์"  มีข้อความที่ใช้กัน
 มาตั้งแต่สมัยเรอเนซองค์จนถึงทุกวันนี้ว่า
  "ศิลปะมิได้จำลองความงาม  แต่สร้างความงามขึ้น"
    
          ดังนั้น  จึงอาจสรุปได้ว่า "ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความ
งาม และความพึงพอใจ"
 
ที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์สืบเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตอันยาวนานจนถึงปัจจุบัน
 และจะสร้างสรรค์สืบต่อไปในอนาคตให้อยู่คู่กับเผ่าพันธุ์มนุษย์
ไปตราบนานเท่านาน    โดยมีการ
 สร้างสรรค์ พัฒนารูปแบบต่าง ๆ ออกไปอย่างมากมายไม่มีที่สิ้นสุด

     ศิลปะในความหมายต่าง ๆ
             ศิลปะ แต่เดิมหมายถึง งานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วย ความประณีตวิจิตรบรรจง
ฉะนั้น    งานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็น
 ผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา
ความศรัทธา และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่

         คำว่า Art  ตามแนวสากลนั้น มาจากคำ  Arti  และ  Arte  ซึ่งเริ่มใช้ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
  ความหมายของคำ Arti นั้น หมายถึงกลุ่มช่างฝีมือในศตวรรษที่ 14 , 15 และ 16
คำ Arte  มี
ความหมายถึงฝีมือ ซึ่งรวมถึงความรู้ของการใช้วัสดุของศิลปิน ด้วย เช่นการ การผสมสี
ลงพื้นสำ
หรับการเขียนภาพสีน้ำมัน  หรือการเตรียมและการใช้วัสดุอื่นอีก
การจำกัดความให้แน่นอน
ลงไปว่าศิลปะคืออะไรนั้น เป็นเรื่องยาก เพราะว่า ศิลปะเป็นงานสร้างสรรค์ 
ศิลปินมีหน้าที่
 สร้างงานที่มีแนวคิดและรูปแบบแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา   ทฤษฎีศิลปะในสมัยหนึ่งอาจ
 ขัดแย้งกับของอีกสมัยหนึ่งอย่างตรงกันข้าม และทฤษฎีเหล่านั้นก็ล้วนเกิดขึ้นภายหลังผลงาน
สร้างสรรค์
ที่เปลี่ยนแปลงและก้าวล้ำหน้าไปก่อนแล้วทั้งสิ้น  อย่างไรก็ตาม ทัศนะเกี่ยวกับ
 ความหมายของศิลปะ
ได้ถูกกำหนดตามการรับรู้ และตามแนวคิดต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง  โดย
 บุคคลต่าง ๆ ซึ่งพอยกตัวอย่างได้ดังนี้

….ศิลปะ คือ ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้ปรากฏซึ่ง
 สุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ความอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์
 รสนิยมและทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ  ความรื่นรมย์  ขนบธรรมเนียม  จารีตประเพณีหรือ
 ความเชื่อทางศาสนา  ( พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2530 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น